วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การทำงานของระบบไฮโดรลิก

          บทนำ
ในยุคปัจจุบันมนุษย์สามารถประดิษฐ์เคื่องกลที่สามารถผ่อนแรงในการทำงานได้มากครับ บางครั้งคนทำงานออกแรงเพียงเล็กน้อยแต่สามารถทำงานเช่นยกของหนักได้มากมหาศาล การใช้เครื่องทุ่นแรงประเภทที่เรียกว่า ระบบไฮโดรลิก ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ยังนิยมใช้กันแพร่หลาย
ซึี่งนำมาใช้ในการทำงานที่หนักๆ เกินความสามารถของแรงคน บล็อกนี้ทำขึ้นเพื่อให้คนที่สนใจจะเรียนรู้เเละศึกษาเกียวกับระบบการทำงานของระบบไฮโดรลิก เเละการบำรุงรักษา ให้สามารถรู้ถึงการประยุคใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริงครับ
     
                หลายคนอาจสงสัยว่าระบบไฮโดรลิกทำงานงานอย่างไร บล็อกนี้จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในการเคลียปัญหาของคุณครับที่อยากรู้ว่าระบบไฮโดรลิกทำงานกันอย่างไรครับ มาดูกันเลยครับ
     
         หลักการทำงานของระบบไฮโดรลิก   

                                               การทำงานของระบบไฮโดรลิก




   
                                 




           จากรูปข้างบนนะครับคุณจะสังเกตเห็นว่า หลักการทำงานของระบบไฮโดรลิกเป็นอย่างไรกัน 555 ครับมาดูกันเลยครับ เราจะเห็นว่าเมื่อเราออกเเรงกระทำต่อลูกสูบฝั่งหนึ่ง เมื่อลูกสูบถูกเเรงอัดลงไป ของเหลวที่อยู่ฝั่งที่เราออกแรงกระทำลงไปเมื่อถูกความดันอัดลงไป ก็จะทำให้ของเหลววิ่งไปอีกฝั่งหนึ่งนั้นเองครับ จึงทำให้ลูกสูบอีกฝั่งหนึ่งยกขึ้นได้เองครับ เนื่องจากของเหลวเมื่อถูกเเรงอัดจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานกล เเละสามารถยกของหนักๆได้ครับ

           ครับถ้าจะสรุปเเบบย่อก็จะสรุปได้ว่า การทำงานของระบบไฮโครลิกก็คือ ออกแรงกระทำดันของไหล( ของเหลว หรือ ก๊าซ) ด้วยลูกสูบที่มีพื้นที่หน้าตัดน้อย .แล้วของไหลนั้นจะไปดันลูกสูบที่มีพื้นที่หน้าตัดมากลูกสูบที่พื้นที่หน้าตัดมากก็จะไปดันเพื่อทำงานเช่นไปดันเพื่อของยกของหนักมากๆครับ...เราจึงสามารถนําระบบไฮโดรลิก ไปใช้ในอุตสาหกรรมได้มากมาายเลยทีเดียวครับตามที่เราเห็นในปัจจุบันครับผม


อ้างอิง http://www.rmutphysics.com/
        http://www.youtube.com/watch?v=EWLUXenI6tk




การบำรุงรักษาระบบไฮโดรลิกส์ กับ ข้อดี-ข้อเสียของระบบไฮโดรลิก

                         การบำรุงรักษาระบบไฮโดรลิกส์
          การบำรุงรักษาที่ดีช่วยให้ส่วนประกอบของไฮดรอลิกส์มีอายุการใช้งานนาน และยังช่วยในการประหยัดน้ำมันไฮดรอลิกส์ด้วย ข้อควรปฏิบัติในการบำรุงรักษามีดังนี้
        

 1.ตรวจซ่อมรอยรั่วซึมตามท่อ ข้อต่อ ประเก็น และซีลต่างๆ การรั่วไหลไม่เพียงแต่จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน อากาศภายนอก
       
 2.ถ้าเกิดเสียงดังผิดปกติ ควรหาสาเหตุ เช่นเสียงอาจเกิดจากสุญญากาศในน้ำมันขณะปั๊มทำงาน เพราะท่อน้ำมันไหลกลับไม่สะดวก หรืออาจเกิดจากกรองน้ำมันตัน
       

 3.หมั่นตรวจท่อน้ำมันผ่านกรองทั้งเข้าและออก เกจความดันจะชี้เตือนถ้าเกิดการอุดตัน ตรวจสอบลักษณะของเศษผงถ้าเป็นเหล็กอาจเกิดจากตัวปั๊มเอง ถ้าเป็นทองแดงอาจเกิดจากแบริ่ง
       

 4.หมั่นตรวจและกำจัดน้ำในถังน้ำมันเสมอ ถ้าพบมีน้ำมากอาจจะมีสาเหตุจากถังน้ำมันรั่ว ควรให้น้ำมันร้อนประมาณ 50/55 องศาเซลเซียส เพื่อให้ละอองน้ำภายในถังไฮดรอลิกส์จะได้ลงไปปนกับน้ำมัน ถ้าไม่มีเกจความร้อน ให้ใช้ฝ่ามือทาบกับถังน้ำมันให้รู้สึกว่าร้อนทนเกือบไม่ได้
        

5.หมั่นสังเกตสีและสภาพของน้ำมัน โดยหาขวดแก้วเล็กๆ ตรวจตัวอย่างน้ำมันสัปดาห์ละครั้ง และตั้งทิ้งไว้อย่าให้ถูกแสงแดด ถ้าสีขุ่นแสดงว่ามีน้ำ ถ้ามีกลิ่นฉุนหรือสีเข้มจัดแสดงว่าน้ำมันเสื่อมสภาพจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น หรืออาจจะมีสิ่งอื่นเข้าไปเจือปน




              ข้อดีของระบบไฮโดรลิก
- สามารถส่งกำลังได้มาก โดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก
- สามารถควบคุมการทำงานได้ง่าย
- มีคุณสมบัติหล่อลื่นอยู่ในตัวเอง
- เมื่อเกิดความร้อนขึ้นในระบบ น้ำมันจะเป็นตัวพาความร้อนออกไป
- อายุการใช้งานนาน
              ข้อเสียของระบบไฮโดรลิก
- พลังงานไฮโดรลิกไม่พร้อมที่จะใช้งานทันที
- อุปกรณ์ที่ใช้งานต้องผลิตขึ้นอย่างละเอียด ทำให้ราคาแพง
- เกิดมลภาวะ เมื่อเกิดการรั่วของน้ำมัน
- การบำรุงรักษาและตรวจซ่อมค่อนข้างยุ่งยาก
- มีโอกาสเสียหาย แตกหัก และติดไฟได้








ระบบไฮดรอลิกส์ กับการประยุคใช้ในงานอุตสาหกรรม

        ระบบไฮดรอลิกส์มักถูกประยุกต์นำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำว่า “ ไฮดรอลิกส์”  (Hydraulics)  เป็นคำที่เกิดมาจากการผสมกันของภาษากรีก ระหว่างคำว่า “Hydor”  ซึ่งมีความหมายว่า  น้ำ (Water)  และคำว่า “Aulis”   ซึ่งมีความหมายว่า ท่อทาง (Pipe)  ดังนั้นในอดีตเมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วคำว่า “ ระบบไฮดรอลิกส์”  (Hydraulics system)  จึงหมายถึง  ระบบการทำงานที่ใช้น้ำเป็นสารตัวกลางในการส่งถ่ายกำลังงานผ่านระบบท่อทาง เท่านั้น    แต่ในปัจจุบันคำว่า “ ระบบไฮดรอลิกส์”  หมายถึง  ระบบการทำงานที่ใช้ของเหลวทุกชนิดเป็นสารตัวกลางในการส่งถ่ายกำลังงานผ่าน ระบบท่อทาง เพื่อไปทำให้เกิดแรงและการเคลื่อนที่   ตัวอย่างการใช้งานระบบไฮดรอลิกส์ได้แก่   ระบบเบรกในรถยนต์  เครื่องอัดขึ้นรูปชิ้นงาน  รถแทรกเตอร์   แม่แรงไฮดรอลิกส์ เป็นต้น
            ระบบไฮดรอลิกส์จะมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับระบบนิวแมติกส์ก็คือ  ระบบจะมีขนาดที่เล็กกว่าในขณะที่สามารถสร้างกำลังงานในการออกแรงทำงานได้ มากกว่า    การทำงานจะมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่าระบบที่ใช้ลมอัด ทั้งนี้เนื่องจากใช้สารตัวกลางในการส่งถ่ายกำลังงานเป็นของเหลวจึงไม่มีการ อัดตัว
          ระบบไฮดรอลิกส์มักถูกประยุกต์นำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไปนี้ครับ



การทำงานของรถเเม็คโคร



                                         

การทำงานของเครื่องจักรอุตสาหกรรม



                                         

ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์

การทีเรานำทฤษฎีของไหลของ ปาสคาล มาใช้จึงมีการคิดค้นระบบไฮโดรลิก ตามทฤษฏีของปาสคาลขึ้นมาครับ เเละจึงมีการพัฒนาใช้ในประจำวันเเละในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ครับ เราสามารถพบเห็นได้ในชีวประจำวันของพวกเรา เเละนิคมอุตสาหกรรมต่างครับ เเละมีข้อดีข้อเสีย ของระบบไฮโดรลิกที่เราต้องควรระวัง เเละวิธีการักษากันด้วยครับ  เพราะทุกวันนี้เป็นยุคเเห่งเทคโนโลยีครับ